หลายปีมานี้ วงการบีบีกันมีการจัดอีเว้นท์กันบ่อยมาก มีทั้งจัดเพื่อความสนุกสนาน จัดเพื่อการกุศล จัดเพื่อหารายได้เข้าหน่วยงานหรือจัดเป็นธุรกิจ โดยแบ่งรูปแบบงานหลัก ๆ ออกเป็น 3 แบบได้แก่
1. แบบ เซอร์ไวเวอร์ เป็นการเล่นแบบแบ่งข้างยิงกันเหมือนเราเล่นในสนาม แต่มีรูปแบบเพิ่มขึ้นให้เป็นเรื่องเป็นราว
งานสัตหีบ กับรถหุ้มเกราะ V150 |
2. แบบ มิลซิม เป็นการเล่นแบบกำหนดกลยุทธ และรูปแบบการเล่นโดยผู้จัด มีการผูกเรื่องราว มีการกำหนดภารกิจ กำหนดการแต่งกาย กำหนดการใช้แม็ก จนถึงกำหนดการยิง ฯลฯ
มิลซิม ครั้งแรก เกิดที่ราบ 11 |
3. แบบ ฝึกร่วม เป็นการเล่นกับทหารหรือตำรวจ มีการทำภารกิจที่เต็มรูปแบบ โดยมีทหารหรือตำรวจ เป็นผู้กำหนดภารกิจ
27 มีนาคม 2559 ยุทธการจรสีห์พิฆาต ครั้งที่ 3 |
แต่ละงานมีรูปแบบการเล่นที่แต่ต่างกันมีการเตรียมตัวที่แตกต่างกัน ผู้เข้าร่วมงานควรจะศึกษารูปแบบการไปเล่นก่อน เพื่อจะได้เตรียมตัวไปงานได้ถูกต้อง
การเตรียมตัว
หลังจากทราบรูปแบบของงานแล้วเราก็ต้องมาดูว่าเราเองเหมาะกับแบบไหน
1. เซอร์ไวเวอร์เกม ค่อนข้างเป็นแบบเปิดกว้าง ส่วนใหญ่แต่งอะไรก็ได้ ขอแค่ปืนพร้อม ใจพร้อม ก็ไปได้แล้ว
2. มิลซิม บางงานค่อนข้างมีกฎกติกาเยอะ บางงานก็สบาย ๆ ผู้เล่นควรศึกษา กฎ-กติกาการเล่นของแต่ละงานให้ดี ตั้งแต่การแต่งกาย ความเร็วปืน บางงานมีอบรม มีสอบเลื่อนขั้น บังคับใช้อุปกรณ์ตามที่กำหนด ผู้เข้าร่วมต้องศึกษาให้ดีก่อน
3. ฝึก/ร่วมผสม แบบนี้ ปืนพร้อม ใจพร้อมแล้ว ร่างกายต้องพร้อมด้วย การจัดแบบ ฝึกร่วม/ผสม ไม่หนักแบบทหารฝึก มีการผูกเรื่องราว ให้ความรู้ เน้นสนุก ใช้ยุทธโธปกรณ์หลากหลายหลากหลายแบบ พร้อมเอฟเฟคจริง
การแต่งกาย
ผู้เล่น ใส่ชุดทหารแบบไหนก็ได้ที่มีขายตามท้องตลาด สำหรับงาน ยุทธการบีบีกัน มีกฎห้ามชุดนักรบอิสลามไอเอส เพราะอ่อนไหวในเรื่องศาสนาและภาพพจน์ประเทศ กรณีแต่งชุดทหารไทยห้ามติดยศเด็ดขาดเพราะผิดกฎหมาย
ผู้ติดตาม หลายงานจัดในสถานที่ราชการ บางงานใช้วัดเป็นกองอำนวยการ ผู้ติดตามหรือพริตตี๊ที่ผู้จัดงานจ้างมาแล้วแต่งโป๊เกินงาม ไม่เหมาะกับเดินในวัดและสถานที่ราชการทั่วไป ดังนั้นเราควรแต่งตัวให้เหมาะสมและให้เกียรติกับงานที่จะไป หลายงานเป็นงานจัดในป่า ผู้หญิงหรือเด็กที่ไปงานอาจจะไม่สะดวกเรื่องห้องน้ำ และอาหารการกิน รวมถึงแมลงสัตว์มีพิษต่าง ๆ บางงานจัดในพื้นที่ปิดของทหาร อย่างพื้นที่หวงห้าม ไม่สะดวกทั้งปวงไม่ว่าจะเป็น ห้องน้ำ การเดินเที่ยวเตร่ไปทั่ว จนถึงสัญญาณโทรศัพท์ โดยเฉพาะเด็กต่ำกว่า 15 ปี ถ้าพาไปด้วยควรมีผู้ปกครองดูแลใกล้ชิดแลใกล้ชิด ยิ่งงานที่จัดในค่ายทหารและพื้นที่ฝึก ควรเคารพสถานที่ไม่เดินในเขตหวงห้าม ที่สำคัญบางงานอย่างฝึกร่วม/ผสม มีระเบิดจริงวางอยู่หลายจุด ต้องเชื่อฟังผู้ควบคุมการฝึกและป้าย
ช่างภาพ เรื่องนี้สำคัญมากในการจัดงาน ผู้จัดงานหลายท่านควรให้ความสนใจ มีการตกลงกับช่างภาพ ว่าตรงไหนถ่ายได้หรือไม่ได้ มีอุปกรณ์ป้องกัน หน้ากากหรือแว่น อุปกรณ์ป้องกันเลนส์ การแต่งกายควรเป็นชุดสีดำหรือชุดเข้ากับตีมงาน บางท่านใส่แดง ใส่เหลืองให้เด่นเพื่อรู้ว่าเป็นช่างภาพ แต่เวลาช่างภาพท่านอื่นถ่ายติดออกมาภาพจะโดด บางท่านเดินไปขวางทางปืน หรือไปถ่ายแล้วไปชี้เป้าให้ฝ่ายตรงข้ามโดยไม่รู้ตัว พื้นที่หวงห้ามก็ไม่ควรถ่าย เช่นโรงเก็บยุทธภัณท์หรือพื้นที่ควบคุมพิเศษ
การลองปืน (เซฟโซน)
ผู้จัดต้องให้ความสำคัญกับส่วนนี้มาก ห้ามใส่แม็กในบริเวณงาน ห้ามยิงปืนส่งเดช ถึงอยู่ในสนามฝึกก็ควรเซฟปืนทุกครั้งที่ขึ้นรถหรือจบภารกิจ เราควรหันมาใส่ใจเรื่องนี้ให้เป็นนิสัยครับ และควรบอกต่อ..
ของที่ต้องเตรียมไปงานนอกสถานที่
1. ปืนบีบี สั้นและยาว แม็กสำรอง ลูก แก็ส แบตสำรอง ที่ชาร์ต มีด กล้องติดหมวก วิทยุสื่อสาร
2. หน้ากาก ข้อนี้สำคัญมาก อย่างน้อยควรเป็นแบบสวมปิดตา (กล๊อกเกิ้ล) ไม่แนะนำแว่นตาเด็ดขาด บาดเจ็บที่ตากันมาเยอะแล้ว
3. ชุดตามที่ผู้จัดงานกำหนด ชุดทหารไทยห้ามติดยศใด ๆทั้งสิ้นแนะนำแขนยาวเนื่องจากงานเป็นภาคสนามโอกาสต้องคลานมีสูง รองเท้าอย่างน้อยผ้าใบ ถ้าจะให้ดีหุ้มข้อกันหกล้มข้อเท้าพลิก ชุดสำรอง ผ้าเช็ดตัว กางเกงในควรมีสำรองครับ
4. ของใช้ส่วนตัว ยาดม ยาลม ยาหม่อง ยาประจำตัว (ถ้ามี) ผ้าเช็ดตัว ขนมให้พลังงาน กระติ๊กน้ำดื่ม บางงานไม่ให้นำน้ำขวดเข้าพื้นที่ ป้องกันขยะและสิ่งแวดล้อม
5. ใจต้องพร้อม ปืนต้องพร้อม (เช็คให้ดีก่อนไป) ร่างกายต้องพร้อม พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายบ้าง งดเครื่องดื่มมึนเมาก่อนไปงาน ที่สำคัญเช็คด้วยว่าผู้จัดกำหนดความเร็วปืนไว้เท่าไหร่ ปืนสำรองควรมี ปืนเสียไม่มีซ่อมเสมือนไปรบจริง
วัตถุอันตราย
หลายงานอนุญาตให้เล่นประทัด ดอกไม้ไฟ ระเบิดควัน จนถึงระเบิดทำเอง(ระเบิดควัน และ ระเบิดทำเอง ผิดกฎหมายถือเป็นยุทธภัณฑ์ ที่มาข้อมูล กรมตำรวจ) ผู้จัดควรดูด้วยว่าใกล้ชุมชน เสียงจะไปรบกวนผู้อื่นหรือไม่ ดอกไม้ไฟจะทำให้ไฟใหม้รึเปล่า อย่าเน้นสนุกอย่างเดียว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น